กรมวิทย์วิจัยพบเด็กไทยตายผ่อนส่ง"น้ำดื่ม"ปนเปื้อนสารพิษ

เผยผลวิจัยกรมวิทย์ฯ พบเด็กไทยตายผ่อนส่ง จาก "น้ำดื่ม" ปนเปื้อนสารพิษจากสิ่งแวดล้อม ทั้ง ร.ร.ในเมืองและชนบท ผิดมาตรฐานถึง 63.12%

เด็กไทย

พบ ทั้ง สารไนเตรท เหล็ก ตะกั่ว แคดเมียม แมงกานีส อลูมีเนียม ฟลูออไรด์ ความกระด้างและเชื้อจุลินทรี ก่อโรคเพียบเสี่ยงทั้งโรคตับ แท้งคุกคาม ไตวาย นิ่วในไต แถมมี ร.ร. 2 แห่งใช้ตะกั่วบัดกรีเชื่อมภาชนะเก็บน้ำดื่มของโรงเรียนโดยรู้เท่าไม่ถึง การณ์ ขณะที่น้ำถัง ร.ร.ในเมืองพบผิดมาตรฐานกว่า60% แนะทางออก ศธ.-อบต.-อบจ.-เทศบาลจับมือแก้

นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เรื่อง "การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยน้ำดื่มในโรงเรียนและชุมชน" โดยสุ่มตรวจน้ำดื่มโรงเรียนในเขตชนบท(นอกเขตเทศบาล)ได้แก่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี สมุทรสงคราม โรงเรียนในเขตเมือง(เขตเทศบาล)ได้แก่ จ.เชียงราย นครราชสีมา ชลบุรี นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต และ สงขลา ระหว่างวันที่ มี.ค.-ส.ค.2549 ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนใน ภาพรวมถูกต้องตามมาตรฐานเพียง 36.88% เท่านั้น แต่ผิดมาตรฐานถึง 63.12% หรือผิด มาตรฐานถึง 457 แห่ง จาก 724 แห่ง

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ กล่าวต่อว่า คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนใน ภาพรวมผิดมาตรฐานด้านเคมี 32.32% ผิดมาตรฐานด้านจุลชีววิทยา 22.79% ผิด มาตรฐานทั้งด้านเคมีและจุลชีววิทยา 8.01% ทั้งนี้เมื่อจำแนกเป็นน้ำดื่มในโรงเรียนเขต ชนบทพบว่าผิดมาตรฐานสูงถึง 70.73% หรือ 360 ตัวอย่างจากทั้งหมด 509 ตัวอย่าง น้ำดื่ม ในชนบทส่วนใหญ่ผิดมาตรฐานด้านเคมี 41.65% ด้านจุลชีววิทยา 20.63% และผิด มาตรฐานทั้ง 2 ด้าน 8.45% สำหรับน้ำดื่มในโรงเรียนเขตเมืองพบว่าผิดมาตรฐาน 45.12% หรือ 97 ตัวอย่างจาก 215 ตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ผิดมาตรฐานด้านจุลชีววิทยา 27.91%

ด้านเคมี 10.23% และผิดมาตรฐานทั้ง 2 ด้าน 6.98%

นพ. ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า เมื่อจำแนกแหล่งน้ำดื่มของโรงเรียนในเขตชนบทพบ ว่ามีความหลากหลายกว่าโรงเรียนในเขตเมือง โดยส่วนใหญ่ 84.07%เป็นน้ำบาดาลที่นำมา ทำประปาหมู่บ้าน ซึ่งมีการจัดสร้างโดยงบประมาณของหลายหน่วยงาน เช่น กรมอนามัย กรมโยธาธิการ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) กรมทรัพยากรธรณี ส่วนที่เหลือมา จากน้ำผิวดิน น้ำจากแม่น้ำ น้ำฝนในขณะที่โรงเรียนในเขตเมืองส่วนใหญ่จะมีแหล่งน้ำดื่ม จากน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคถึง 92.70%และน้ำถัง 7.30%

ทั้ง นี้จากการสำรวจ พบว่า น้ำบรรจุถึงที่โรงเรียนจัดซื้อผิดมาตรฐานถึง น้ำที่มาจากแหล่งน้ำของการประปาส่วน ภูมิภาคผิดมาตรฐานถึง 34.55%ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการดูแลความสะอาดเครื่องทำน้ำ เย็นของโรงเรียนในเขตเมือง และการทำความสะอาดระบบการกรองน้ำดื่มในโรงเรียนนั่น เอง

"ผลการศึกษา พบปัญหาน้ำดื่มที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน คือ พบ สารเคมีและพบเชื้อจุลินทรีย์เกินมาตรฐานความปลอดภัย ประกอบด้วย สารตะกั่ว พบ 12 แห่ง แคดเมียมพบ 12 แห่ง แมงกานีส พบ 4 แห่ง อลูมีเนียมพบ 3 แห่ง ฟลูออไรด์พบ 3 แห่ง ไนเตรทพบ 104 แห่งเหล็กพบ 87 แห่ง ความกระด้างพบ 64 แห่ง เชื้อจุลินทรี E.coli พบ 83 แห่ง เชื้อจุลินทรี S.aureus พบ 3 แห่ง เชื้อจุลินทรีย์ Samonella พบ 6 แห่ง และ เชื้อจุลินทรี C.perfringen พบ 35 แห่ง โดยเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำดื่มมีการปนเปื้อนเพราะการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ดี โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ทำให้แห่งน้ำมีปริมาณสารไนเตรทสูง จนไม่ ปลอดภัยในการบริโภค นอกจากนี้จากการสำรวจพบว่ามีโรงเรียน 2 แห่งใช้ตะกั่วบัดกรีเชื่อมภาชนะเก็บน้ำดื่มของโรงเรียนโดยรู้เท่าไม่ถึง การณ์" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า กรณีของเหล็กส่งผลต่อร่างกายคือในระยะเฉียบพลัน จะทำ ให้คลื่นไส้อาเจียน ถ้าเป็นเรื้อรัง จะสะสมที่ตับและทำให้กระดูกผุ ดังนั้นต้องดูต่อไปว่า คน ไข้แถวนั้นเป็นโรคตับเยอะหรือไม่ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ส่วนไนเตรท จะทำให้ทารกตัวเขียว ผลระยะยาว จะทำให้สตรีมีครรภ์เกิดภาวะแท้งคุกคามได้ สำหรับฟลูออไรด์ไปจับฟัน และกระดูก แมงกานีส ทำให้เกิดมีอาการไข้ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร ตะกั่ว ส่งผลต่อเม็ดเลือด ทำให้ไตวาย โลหิตจาง ความกระด้างของน้ำ ทำให้เกิดนิ่วในไต และเชื้อจุลินทรีทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร

อธิบดีกรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หน่วย งานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ทั้ง อบต. อบจ. เทศบาล ซึ่งในเบื้องต้นทุกหน่วยงานเมื่อรับทราบปัญหาก็ยินดีร่วมมือ ทุกแห่งเพราะทุกคนก็เป็นห่วงลูกหลาน โดยเฉพาะ อบต.และอบจ.ช่วยเต็มที่ เพราะสาร และเชื้อจุลินทรีย์ที่พบเป็นภาพรวมของความปลอดภัย หากร่างกายสะสมไปเรื่อย ๆ เกิด ปัญหาแน่นอน.
ขอขอบคุณ Invision Power Board ที่ให้บทความดีๆครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น